ภาพที่ 1 การส่งโครงการให้ครูใหญ่และครูฝ่ายวิชาการ หนังสือนิทานที่ส่งแล้ว จัดเก็บในห้องสมุดของโรงเรียน ให้เด็กได้เข้ามาอ่านเพื่อเป็นการส่งเสริมและ ปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน
ภาพที่ 2 รูปภาพหนังสือนิทาน ในโครงการหนังสือแม่หนังสือลูก ทำเป็นหนังสือนิทาน
เล่มใหญ่ 1 เล่มและเล่มเล็กอีก 3 เล่ม
โครงการหนังสือแม่หนังสือลูก
หลักการและเหตุผล
มีความเชื่อกันว่า หนังสือนิทานในปัจจุบัน ได้รับแนวคิดมาจากนิทานอีสปในสมัยก่อน คำว่า อีสปนั้นตั้งมาจากชื่อของคน เชื่อกันว่าอีสป เป็นบุคคลที่มีชีวิตอยู่เมื่อราวปี 620-560 ก่อน คริสศักราช หรือก่อนสมัยพุทธกาลเล็กน้อย อีสปนั้นอยู่ในชั้นวรรณะทาส และได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เป็นครูสอนหนังสือให้กับลูกของนายจ้าง อีสปได้มีโอกาสพบเห็นและรู้จักกับบุคคลมากมาย เมื่อนายจ้างของอีสปไปที่ใดก็จะพาเขาไปด้วย ทำให้อีสปได้มีโอกาสเล่านิทานให้คนเหล่านั้นฟัง ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบโดยทั่วกัน ผู้คนเหล่านั้นจึงเรียกนิทานเหล่านั้นว่า นิทานอีสป หรือ ก็คือนิทานที่อิสปเป็นคนเล่านั้นเอง โดยตัวละครของนิทานอีสปในสมัยนั้นจะเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ นิทานของอีสปได้เค้าโครงมากจากเรื่องเล่าเก่าๆของอินเดียบ้าง อาระเบียบ้าง หรืออาจมาจากเปอร์เซียและดินแดนอื่นๆ โดยอีสปนำมาดัดแปลงเล่าใหม่ รวมทั้งเรื่องเล่าเก่าๆของกรีก นิทานของอีสปเป็นนิทานที่เล่าปากเปล่าไม่มีการจัดบันทึกเป็นหลักฐาน จนศตวรรษต่อๆมาจึงได้มีผู้บันทึกเอาไว้ เช่นจะเห็นได้จากหลักฐานของแผ่นปาปิรัสอียิปต์โบราณ จนต่อมาได้มีคนผู้หนึ่งที่รวบรวมเรื่องราวของนิทานอีสปเอาไว้เป็นภาษาลาติน บางตำนานบอกว่าชาวกรีกผู้หนึ่งชื่อว่า ได้รวบรวมนิทานอีสปโดยเขียนเป็นหนังสือไว้เมื่อราว 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมามีผู้เขียนขึ้นใหม่อีกหลายคน และได้แปลนิทานอีสปจากภาษาลาตินเป็นภาษาอังกฤษเมื่อ คริสศักราช1400 นับแต่นั้นมาชาวยุโรปได้แปลนิทานอีสปให้เข้ากับสภาพสังคมแต่คติและข้อคิดสำคัญอันเป็นหัวใจของเรื่องยังคงได้รับการรักษาไว้
ในปัจจุบันพัฒนาการทางด้านภาษามีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเด็กปฐมวัย หนึ่งในนั้นได้แก่พัฒนาการทางด้านการอ่าน เพราะมีความเชื่อว่า การอ่านเป็นกระบวนการสร้างสติปัญญาของมนุษย์ที่จะทำให้ชีวิตเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง ไม่ว่าจะอ่านจากสื่อใดๆ ก็ล้วนแต่มีความสำคัญในการสร้างพฤติกรรมแห่งการเรียนรู้ทั้งสิ้น นอกจากนั้นการอ่านยังเป็นการช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดนิสัยรักการอ่าน และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับหนังสือ นอกจากเด็กจะมีพัฒนาการทางด้านการอ่านที่ดีแล้ว พัฒนาการด้านอื่นๆตามไปด้วย คือพัฒนาการทางด้านอารมณ์คือเด็กจะมีความสุขและยิ้มตามไปด้วย เมื่อเด็กได้อ่านบ่อยขึ้นก็จะคุ้นเคยกับหนังสือและติดการอ่านหนังสือซึ่งอาจมีส่วนในการส่งเสริมและปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
ดังนั้น นักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 5 จึงได้จัดตั้งโครงการหนังสือแม่หนังสือลูก เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ทางภาษาได้เหมาะสมตามวัยและเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับเด็ก
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน
2. เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย
เป้าหมาย
ด้านปริมาณ
เด็กระดับชั้นอนุบาล 2 /5 จำนวน 21 คน โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ด้านคุณภาพ
เด็กระดับชั้นอนุบาล 2 /5 จำนวน 21 คน โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
มีความสนใจในการอ่านหนังสือมากขึ้น และมีนิสัยรักการอ่าน
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
ขั้นวางแผน
1. วางแผนและกำหนดหัวข้อการจัดทำโครงการ
2. เสนอโครงการต่อผู้บริหารโรงเรียน
ขั้นเตรียมการ
1. จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการจัดทำโครงการ
2. ดำเนินโครงการตามที่ได้วางแผนไว้
ขั้นสรุปผล
1. นำโครงการมาทดลองกับเด็ก
ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางสาววิลาสินี ทิมดี
สถานที่ดำเนินการ
โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
งบประมาณ
ค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการหนังสือแม่หนังสือลูก
(ประมาณการ)
กระดาษ 100 ปอนด์ 200 บาท
ค่าสีไม้ สีเมจิก 150 บาท
สติ๊กเกอร์ใส 500 บาท
ค่าพลาสติกเคลือบ 700 บาท
วัสดุอื่นๆ 100 บาท
ผ้ากุ๊นสี 100 บาท
เทปกาวสีชนิดผ้า 100 บาท
หมายเหตุ ขออนุมัติถัวจ่ายทุกรายการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เด็กมีความสนใจหนังสือและรักการอ่าน
2. เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษาที่เหมาะสมตามวัย
วิเคราะห์และสรุปผล
โครงการนี้เป็นโครงการที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดนิสัยรักการอ่าน และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับหนังสือ นอกจากเด็กจะมีพัฒนาการทางด้านการอ่านที่ดีแล้ว พัฒนาการด้านอื่นๆตามไปด้วย คือพัฒนาการทางด้านอารมณ์คือเด็กจะมีความสุขและยิ้มตามไปด้วย เมื่อเด็กได้อ่านบ่อยขึ้นก็จะคุ้นเคยกับหนังสือและติดการอ่านหนังสือซึ่งอาจมีส่วนในการส่งเสริมและปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำโครงการ
ในการจัดทำโครงการหนังสือแม่หนังสือลูก มีปัญหาและอุปสรรคดังนี้
1. ระยะเวลาในการจัดทำมากพอสมควร
2. ค่าใช้จ่ายสูง
3. วิธีการจัดทำโครงการหลายขั้นตอน
Tuesday, October 21, 2008
โครงการหนังสือแม่หนังสือลูก
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment